วันพฤหัสบดีที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

การทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน

มารู้จักกับการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน

รอบตัวเราเต็มไปด้วยสั่งแปลกปลอมมากมายที่พร้อมจะโจมตีเราได้ทุกเมื่อ หากเปรียบร่างกายเราเป็นบ้านหลังหนึ่งระบบภูมิคุ้มกันก็เป็นพระเอกในการป้องกันสิ่งแปลกปลอม  ระบบภูมิคุ้มกันเต็มไปด้วยเซลและสารน้ำต่างๆ ที่ช่วยป้องกันเชื้อโรคและซ่อมแซมเนื้อเยื่อยจากการถูกทำลาย หากมีมากเกินไปก็อาจทำให้ป่วย หากทำงานมากเกินไปอาจทำให้เกิดโรคเช่นโรคภูมิแพ้ ภูมิไวเกิน หรือการตอบโต้ตนเองหรือออโต้อิมมูล แต่ถ้าทำงานน้อยเกินไปอาจทำให้เกิดโรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง ภูมิต่ำเช่นเอดส์ อวัยวะที่เกี่ยวข้องกับภูมิคือprimary ผลิตเม็ดเลือดขาวที่ ไขกระดูกซึ่งจะเติบโตเป็นB lymphocyte บีเซล และต่อมไทมัส(thymus)ที่เติบโตเป็นT lymphocyte ทีเซล และเมื่อเติบโตก็จะเดินทางไปที่ secondary ที่จะไปลาดตระเวนที่ม้ามและต่อมน้ำเหลืองเป็นต้น ระบบภูมิคุ้มกันแบ่งเป็น2แบบคือจำเพาะadaptive immunutyจะพิเศษตรงที่มีหน่วยความจำเก็บข้อมูลของเชื้อเพื่อใช้ต่อสู้กับเชื้อนั้นอีกครั้งได้อย่างรวดเร็วและไม่จำเพาะ innate immunuty จะตอบสนองต่อเชื้อโรคแบบทันทีไม่เจาะจง ระบบทั้งสองอาจทำงานต่างกันแต่ก็ต้องประสานการทำงานร่วมกัน

ร่างกายเรามักจะถูกเชื้อโรคโจมตีตลอดเวลาเกิดจากการเดินทางและการใช้ชีวิตประจำวันนั่นเอง

innate immunuty การตอบสนองภูมิคุ้มกันแบบไม่จำเพาะ
ซึ่งเป็นประการหรือกำแพงด่านแรกที่เชื้อโรคต้องเจอกัน เช่นผิวหนัง เยื่อเมือกน้ำมูก ไอจาม ปัสสาวะ อุจจระ ซึ่งถ้าผ่านด่านแรกเข้ามาได้ก็จะเจอกับทหารลาดตระเวนอย่าง macrophage แมคโครฟาติที่ตระเวนตามเนื้อเยื่อที่คอยกัดกินเชื้อโรคและหลั่งสารน้ำที่เหมือนทหารยามอย่าง neutrophil ทั้งสองอย่างนี้จะมีมากที่สุดในร่างกายเรา โดยเราจะเรียกรวมทั้งคู่ว่า phagocyte

nk cell เม็ดเลือดขาวพิฆาตสายโหด มีหน้าที่สำคัญในการกำจัดไวรัสและเซลล์มะเร็งและสามารถหลั่งสารน้ำ(Cytokine) ใส่แมคโครฟาติ Macrophage เพื่อเพิ่มพลังในการจับกินเชื้อโรคได้

eosinophil ทำหน้าที่ฆ่าปรสิต

Basophil และ Mast cell จะทำงานร่วมกันเพื่อกระตุ้นการอักเสบและทำให้เกินภูมิแพ้
นอกจากเหล่าเซลล์เม็ดเลือดขาวแล้ว ในกระแสเลือดยังมีสารน้ำที่เรียกว่า Complement มื่อถูกกระตุ้นก็จะหลั่งออกมาเพื่อช่วยเม็ดเลือดขาวโดยเฉพาะNeutrophil และ Macrophage ให้จับกินเชื้อโรคได้ง่ายขึ้น ช่วยกระตุ้นการอักเสยโดยทำให้ผนังหลอดเลือดขยายตัว และดึงดูด Neutrophil มาทำงานทำให้เชื้อโรคแตกสลายได้

dendritic cell จะทำหน้าที่ในการเก็บหลักฐานเชื้อโรคที่เหลือจากการต่อสู้ของเหล่า Innate immunity เพื่อนำไปแจ้งข่างให้กับหน่วย Adaptive Immunity ที่กำลังรออยู่ที่ต่อมน้ำเหลืองเพื่อทำงานต่อไป

adaptive immunuty การสนองแบบจำเพาะมีอยู่ด้วยกัน2ส่วนคือ ส่วนที่ต่อสู้แบบเซลล์ต่อเซลล์ cellular immunity และส่วนที่ต่อสู้โดยใช้สารน้ำหลั่ง humoral immunity

เซลล์ต่อเซลล์ cellular immunity เริ่มกันที่ T lymphocyte ทีเซล ซึ่งเกิดจากไขกระดูกแล้วไปเติบโตที่ต่อมธัยมัส จากนั้นก็ลาดตระเวนอยู่ที่ต่อมน้ำเหลืองเมื่อ Dendritic cell นำหลักฐานจากเชื้อโรคหรือ Antigen มาให้ก็จะเกิดการจับคู่กับทีเซลล์ T cell ที่เหมาะสมเพื่อเป็นคู่ต่อสู้ของเชื้อโรคนั้น โดยจะมีการรับหลักฐานผ่าน MHC ที่อยู่บนผิว Dendritic cell เมื่อจับคู่ตรงกันก็จะเกิดการกระตุ้นเพิ่มจำนวนโดยที เซลล์ T cell จะแบ่งออกเป็น Helper t cell ทำหน้าที่กระตุ้นเซลล์อื่นๆโดยการหลั่ง Cytokine
Cytotoxic T cell ทำหน้าที่ฆ่าเซลล์ที่ผิดปกติโดยตรง และ Regulatory T cell ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของเซลล์ชนิดอื่นๆ

          ส่วนที่ต่อสู้โดยใช้สารน้ำหลั่ง humoral immunity คือบี เซลล์ B Lymphocyte ซึ่งเกิดมาจากไขกระดูก และไปลาดตระเวนอยู่ที่ต่อมน้ำเหลือง เมื่อบีเซลล์ B cell ที่จำเพาะกับเชื้อโรคนั้นๆ ก็จะจับกินและนำเสนอ Antigen บนผิวเหมือนกับ Dendritic cell แล้วก็มาจับคู่กับ Helper T cell ที่จำเพาะกับเชื้อโรคเดียวกันและเมือตรงกันก็จะเกิดการกระตุ้นให้เพิ่มจำนวนของบี เซลล์ B cell โดยบางตัวก็จะพัฒนากลายเป็น plsma cell ซึ่งมีท่าไม้ตายคือการปล่อยสารน้ำหรือ Antibody โดยจะมีการช่วยในการจับเชื้อโรค ทำให้เชื้อโรคหมดฤทธิ์จนไม่สามารถเข้าสู่เซลล์ได้

การทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย จะเริ่มทำงานเมื่อมีสิ่งแปลกปลอมเข้ามาในร่างกายและร่างกายของเราก็จะใช้ความพยายามที่จะขับไล่ออกไป เริ่มจากด่านแรกก็คือกำแพง Surface barrier สมมติว่าเราโดนมีดบาดเชื้อโรคจะสามารถเข้าสู่ร่างกายของเราผ่านทางบาดแผล โดยที่กำแพงก็คือชั้นผิวหนัง หากสามารถผ่านมาได้ก็จะมาเจอกับ Macrophage แมคโครฟาติที่ลาดตระเวนอยู่ที่เนื้อเยื่อ เมื่อมาโคฟาติ Macrophage เห็นเหล่าเชื้อโรคก็จะจัการทำลายโดยทันที และส่งสัญญาณให้เม็ดเลือดขาวในกระแสเลือดทราบ โดยกองกำลังทหาร Neutrophil และ Complement ก็จะเข้ามาช่วยกำจัดเชื้อโรคอีกแรง ในเวลานั้น Dendritic cell ก็จะเข้ามาเก็บรวบรวมหลักฐาน Antigen แล้วเดินทางต่อไปยังต่อมน้ำเหลืองเพื่อแจ้งข่าวให้กับ Adaptive Immunity ทราบ Dendritic cell จะนำเสนอ Antigen เพื่อจับคู่ที่เหมาะสมเพื่อกระตุ้นให้เกิดการแบ่งตัวเพิ่มจำนวน และพัฒนาไปเป็นที เซลล์ T cell ชนิดต่างๆ ต่อมาที เซลล์ T cell ก็จะไปจับคู่กับ บี เซลล์ B cell ที่เหมาะสมต่อและเกิดการกระตุ้นเพิ่มจำนวนและแปลงร่างเพื่อพัฒนาตัวเองไปต่อสู้กับเชื้อโรค การต่อสู้เป็นไปอย่างดุเดือดจนอาจส่งผลกระทบต่อเซลล์ที่ดีที่ถูกทำลายไปด้วยบ้าง ซึ่ง Regulatory T cell ก็จะออกมาทำหน้าที่สงบศึกให้เหล่าเซลล์เม็ดเลือดขาวหยุดการทำงานลง และสุดท้ายเหล่าที เซลล์ T cell ที่เหลือชีวิตรอดก็จะมีประสบการณืและข้อมูลในการต่อสู้ครั้งต่อไป หากต่อสู้กับเชื้อโรคตัวนี้อีกก็จะสามารถจัดการได้อย่างรวดเร็วและมีประสบการณ์มากยิ่งขึ้น และนี่ก็เป็นการทำงานทั้งหมดโดยคร่าวๆของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ซึ่งเป็นหน่วยเล็กๆแต่ทำหน้าที่อันยิ่งใหญ่เพื่อดูแลและปกป้องร่างกายของเราให้ปลอดภัยจากเชื้อโรคต่างๆนั้นเอง

















ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น